สิ้นปีนี้ไม่มี “ไทยสมายล์” ให้บริการแบรนด์เดียว “การบินไทย”

นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 65 ของบริษัท การบินไทยฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 105,041 ล้านบาท มีกระแสเงินสด 34,540 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงาน 7,797 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 17,241 ล้านบาท แต่ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย โดยเฉพาะบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด มีผลการดำเนินงานขาดทุน 4,248 ล้านบาท รวมทั้งการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้ปี 65 บริษัทฯ และบริษัทย่อยขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดีกว่าประมาณการในแผนฟื้นฟูกิจการ 

นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 65 พบว่า ไตรมาสที่ 4 เป็นไตรมาสที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นถึงเกือบ 2 ล้านคน ขณะที่อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบินแฟกเตอร์) เฉลี่ยอยู่ที่ 82.6% ซึ่งเส้นทางในยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เคบินแฟกเตอร์อยู่ที่ประมาณ 90% และหลายเมืองถึง 100% ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายนี้มีรายได้รวม 36,902 ล้านบาท มี EBIT 8,882 ล้านบาท EBITDA 10,626 ล้านบาทมีกำไรสุทธิ 11,154 ล้านบาท และมีกระแสเงินสด 34,042 ล้านบาท ส่วนไตรมาสที่ 1 และ 2 ผลประกอบการยังไม่ดีนักเนื่องจากเพิ่งเปิดประเทศ จนกระทั่งไตรมาสที่ 3 เริ่มดีขึ้นจนปัจจุบัน ทั้งนี้ในปี 65 การบินไทย และไทยสมายล์ มีผู้โดยสารรวมประมาณ 9 ล้านคน

นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ EBITDA นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 65-ม.ค. 66 ดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯต้องมี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ในรอบ 12 เดือน ก่อนหน้าที่จะรายงานผลถึงผลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะทำให้สามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจในการบินไทยใหม่ โดยได้มีการศึกษาที่จะควบรวมกิจการ สายการบินไทยสมายล์ มาอยู่กับการบินไทย ซึ่งการควบรวมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ 

โดยเรื่องนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อแก้ไขแผนธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารที่เป็นทีมเดียว ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2 เดือน แล้วเสร็จในช่วงเดือน พ.ค. 66 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงแผนธุรกิจ คาดว่าภายในสิ้นปี 66 การให้บริการทั้งเส้นทางบินภายในประเทศ และต่างประเทศ จะมีเพียงการบินไทยให้บริการเพียงแบรนด์เดียว

ด้านนายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท การบินไทยฯ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้อควบรวมกิจการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการ การบริหารตารางเวลาการบิน (สลอต) และเครื่องบินให้สามารถทำการบินได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในจุดบินที่การบินไทยเคยทำการบินทั้งหมด อย่างไรก็ตามการควบรวมจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการปรับปรุงธุรกิจของการบินไทย และยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นไม่กระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้ของบริการของสายการบินไทยสมายล์เดิม รวมถึงจะไม่กระทบต่อพนักงานไทยสมายล์ที่มีอยู่กว่า 800 คนแน่นอน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวก็จะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกับการบินไทย ส่วนข้อดีเมื่อไทยสมายล์มาเป็นส่วนหนึ่งของการบินไทย จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารทรัพย์สิน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องบินมากขึ้นกว่าเดิมจากปัจจุบันที่ไทยสมายล์บินอยู่ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มเป็น 12-13 ชั่วโมงต่อวันได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงได้ประมาณ 30% และจะส่งผลให้การดำเนินงานในปี 66 กลับมาเป็นบวกไม่ขาดทุนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายชาย กล่าวอีกว่า คาดว่าในปี 66 บริษัทฯ รวมบริษัทย่อย จะมีรายได้รวมราว 1.3-1.4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 30% จากปี 65 ที่มีรายได้รวม 105,041 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 80% เนื่องจากจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว รวมทั้งการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและต้นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการเปิดประเทศของจีน ประกอบกับการบินไทยยังได้เพิ่มฝูงบินรองรับการกลับมาบินตามปกติในเส้นทางบินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศเอเชียเหนือ อย่างประเทศจีน ญี่ปุ่น 

ปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวม 64 ลำ แบ่งเป็น เครื่องบินการบินไทย 44 ลำ เครื่องบินไทยสมายล์ 20 ลำ และในปี 66 การบินไทยมีแผนรับมอบอากาศยานรุ่น A 350 เพิ่ม 6 ลำ โดยจะเป็นการเช่าดำเนินการ จะเริ่มรับมอบลำแรกในเดือน เม.ย. นี้ และซ่อมบำรุงโบอิ้ง 777-200ER อีก 1 ลำ เพื่อเพิ่มเข้าประจำฝูงบิน ซึ่งจะส่งผลให้การบินไทยมีฝูงบินเพิ่มเป็น 71 ลำในปีนี้ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการบินได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในตารางการบินฤดูร้อนปี 66 การบินไทยให้บริการเที่ยวบินสู่ 39 เส้นทางบินทั่วโลก พร้อมเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และกลับมาให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมในเส้นทางประเทศจีนในช่วงต้นปี

นายชาย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดกว่า 40,000 ล้านบาท และแนวโน้มผลประกอบการคาดว่าจะดีขึ้น ทำให้ความจำเป็นในการใช้เงินกู้ก้อนใหม่ลดลง โดยบริษัทต้องการให้เจ้าหนี้ใหม่มาใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนมากกว่าการกู้เงิน ซึ่งจะช่วยให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกเร็วขึ้น ซึ่งเรื่องการกู้เงินนั้นจะมีความชัดเจนภายในกลางปีนี้ ขณะที่การปรับโครงสร้างทุน ที่มีทั้งการแปลงหนี้เป็นทุน การขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมคาดว่าจะสามารถดำเนินการครึ่งหลังปี 67 นอกจากนั้นในส่วนของผู้ถือหุ้นสัดส่วนของกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเต็ม ที่จะแปลงหนี้เป็นทุนและซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยหลังจากปรับโครงสร้างทุนใหม่ กระทรวงการคลังจะถือหุ้น 44% ก็จะทำให้การบินไทยไม่กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป และเมื่อปรับโครงสร้างทุนแล้วก็จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกจากนั้นออกจากแผนฟื้นฟู และคาดว่า การบินไทยจะกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในต้นปี 68.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 65 ของบริษัท การบินไทยฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 105,041 ล้านบาท มีกระแสเงินสด 34,540 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงาน 7,797 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 17,241 ล้านบาท แต่ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย โดยเฉพาะบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด มีผลการดำเนินงานขาดทุน 4,248 ล้านบาท รวมทั้งการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้ปี 65 บริษัทฯ และบริษัทย่อยขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดีกว่าประมาณการในแผนฟื้นฟูกิจการ  นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 65 พบว่า ไตรมาสที่ 4 เป็นไตรมาสที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นถึงเกือบ 2 ล้านคน ขณะที่อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบินแฟกเตอร์) เฉลี่ยอยู่ที่ 82.6% ซึ่งเส้นทางในยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เคบินแฟกเตอร์อยู่ที่ประมาณ 90% และหลายเมืองถึง 100% ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายนี้มีรายได้รวม 36,902 ล้านบาท มี EBIT 8,882 ล้านบาท EBITDA 10,626 ล้านบาทมีกำไรสุทธิ 11,154 ล้านบาท และมีกระแสเงินสด 34,042 ล้านบาท ส่วนไตรมาสที่ 1 และ 2 ผลประกอบการยังไม่ดีนักเนื่องจากเพิ่งเปิดประเทศ จนกระทั่งไตรมาสที่ 3 เริ่มดีขึ้นจนปัจจุบัน ทั้งนี้ในปี 65 การบินไทย และไทยสมายล์ มีผู้โดยสารรวมประมาณ 9 ล้านคน นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ EBITDA นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 65-ม.ค. 66 ดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯต้องมี EBITDA จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ในรอบ 12 เดือน ก่อนหน้าที่จะรายงานผลถึงผลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะทำให้สามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้มีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจในการบินไทยใหม่ โดยได้มีการศึกษาที่จะควบรวมกิจการ สายการบินไทยสมายล์ มาอยู่กับการบินไทย ซึ่งการควบรวมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ  โดยเรื่องนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อแก้ไขแผนธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารที่เป็นทีมเดียว ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2 เดือน แล้วเสร็จในช่วงเดือน พ.ค. 66 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงแผนธุรกิจ คาดว่าภายในสิ้นปี 66 การให้บริการทั้งเส้นทางบินภายในประเทศ และต่างประเทศ จะมีเพียงการบินไทยให้บริการเพียงแบรนด์เดียว ด้านนายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท การบินไทยฯ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้อควบรวมกิจการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการ การบริหารตารางเวลาการบิน (สลอต) และเครื่องบินให้สามารถทำการบินได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในจุดบินที่การบินไทยเคยทำการบินทั้งหมด อย่างไรก็ตามการควบรวมจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการปรับปรุงธุรกิจของการบินไทย และยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นไม่กระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้ของบริการของสายการบินไทยสมายล์เดิม รวมถึงจะไม่กระทบต่อพนักงานไทยสมายล์ที่มีอยู่กว่า 800 คนแน่นอน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวก็จะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกับการบินไทย ส่วนข้อดีเมื่อไทยสมายล์มาเป็นส่วนหนึ่งของการบินไทย จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารทรัพย์สิน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องบินมากขึ้นกว่าเดิมจากปัจจุบันที่ไทยสมายล์บินอยู่ 9 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มเป็น 12-13 ชั่วโมงต่อวันได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงได้ประมาณ 30% และจะส่งผลให้การดำเนินงานในปี 66 กลับมาเป็นบวกไม่ขาดทุนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง นายชาย กล่าวอีกว่า คาดว่าในปี 66 บริษัทฯ รวมบริษัทย่อย จะมีรายได้รวมราว 1.3-1.4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 30% จากปี 65 ที่มีรายได้รวม 105,041 ล้านบาท และคาดว่าจะมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 80% เนื่องจากจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว รวมทั้งการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและต้นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการเปิดประเทศของจีน ประกอบกับการบินไทยยังได้เพิ่มฝูงบินรองรับการกลับมาบินตามปกติในเส้นทางบินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศเอเชียเหนือ อย่างประเทศจีน ญี่ปุ่น  ปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวม 64 ลำ แบ่งเป็น เครื่องบินการบินไทย 44 ลำ เครื่องบินไทยสมายล์ 20 ลำ และในปี 66 การบินไทยมีแผนรับมอบอากาศยานรุ่น A 350 เพิ่ม 6 ลำ โดยจะเป็นการเช่าดำเนินการ จะเริ่มรับมอบลำแรกในเดือน เม.ย. นี้ และซ่อมบำรุงโบอิ้ง 777-200ER อีก 1 ลำ เพื่อเพิ่มเข้าประจำฝูงบิน ซึ่งจะส่งผลให้การบินไทยมีฝูงบินเพิ่มเป็น 71 ลำในปีนี้ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการบินได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในตารางการบินฤดูร้อนปี 66 การบินไทยให้บริการเที่ยวบินสู่ 39 เส้นทางบินทั่วโลก พร้อมเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และกลับมาให้บริการเส้นทางบินเพิ่มเติมในเส้นทางประเทศจีนในช่วงต้นปี นายชาย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดกว่า 40,000 ล้านบาท และแนวโน้มผลประกอบการคาดว่าจะดีขึ้น ทำให้ความจำเป็นในการใช้เงินกู้ก้อนใหม่ลดลง โดยบริษัทต้องการให้เจ้าหนี้ใหม่มาใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนมากกว่าการกู้เงิน ซึ่งจะช่วยให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกเร็วขึ้น ซึ่งเรื่องการกู้เงินนั้นจะมีความชัดเจนภายในกลางปีนี้ ขณะที่การปรับโครงสร้างทุน ที่มีทั้งการแปลงหนี้เป็นทุน การขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมคาดว่าจะสามารถดำเนินการครึ่งหลังปี 67 นอกจากนั้นในส่วนของผู้ถือหุ้นสัดส่วนของกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเต็ม ที่จะแปลงหนี้เป็นทุนและซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยหลังจากปรับโครงสร้างทุนใหม่ กระทรวงการคลังจะถือหุ้น 44% ก็จะทำให้การบินไทยไม่กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป และเมื่อปรับโครงสร้างทุนแล้วก็จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวกจากนั้นออกจากแผนฟื้นฟู และคาดว่า การบินไทยจะกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในต้นปี 68.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง